คำถามที่พบบ่อย
ประกันภัยสมัครใจแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร ?
ตารางเปรียบเทียบความคุ้มครอง
ความคุ้มครอง | ประเภท 1 | ประเภท 2 | ประเภท 3 | ประเภท 5 |
---|---|---|---|---|
1. ความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก | ||||
1.1 ความรับผิดชอบต่อชีวิต ร่างกาย หรือ อนามัยเฉพาะส่วนที่กินวงเงินสูงสุด ตามพรบ. (บาท/ต่อคน) และ (บาท/ครั้ง) | มี | มี | มี | มี |
1.2 ความรับผิดชอบต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (บาท/ครั้ง) | มี | มี | มี | มี |
2. ความรับผิดชอบต่อรถประกัน | ||||
2.1 ความเสียหายต่อตัวรถยนต์ที่เอาประกัน | มี | ไม่มี | ไม่มี | มี |
2.1.1 ความความเสียหายส่วนแรก (Deductible) | มี/ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | 2,000 (กรณีเป็นฝ่ายผิด) |
2.2 กรณีรถยนต์สูญหาย/ไฟไหม้ | มี | มี | ไม่มี | มี/ไม่มี |
ทำอย่างไรเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ?
เมื่อท่านประสบเหตุ โปรดโทรศัพท์มาที่ศูนย์รับแจ้งอุบัติเหตุ 24 ชั่วโมง ของแต่ละประกันภัย ตามหมายเลขด้านล่างนี้
บริษัท | เบอร์ติดต่อ | Hot Line | |
---|---|---|---|
![]() |
บมจ. กรุงเทพประกันภัย 0-2285-8000 1620 | 0-2285-8000 | 1620 |
![]() |
บมจ. คุ้มภัยโตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย) 0-2257-8080 1748 | 0-2257-8080 | |
![]() |
บมจ. ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย) 0-2119-3000 / 0-2118-7400 | 0-2119-3000 / 0-2118-7400 | |
![]() |
บมจ. ทิพยประกันภัย 1736 1736 | 1736 | 1736 |
![]() |
บมจ. ไทยศรีประกันภัย 1213 | 1213 | |
![]() |
บมจ. ไทยเศรษฐกิจประกันภัย 1352 | 1352 | |
![]() |
บมจ. นวกิจประกันภัย 1748 | 1748 | |
![]() |
บมจ. ประกันภัยไทยวิวัฒน์ 1231 | 1231 | |
![]() |
บมจ. มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันช์ (สาขาประเทศไทย) 0-2679-5000 | 0-2679-5000 | |
![]() |
บมจ. เมืองไทยประกันภัย 1484 1484 | 1484 | 1484 |
![]() |
บมจ. วิริยะประกันภัย 0-2129-8500 กด 1 1557 | 0-2129-8500 กด 1 | 1557 |
![]() |
บมจ. สินมั่นคงประกันภัย 0-2378-7000 1596 | 0-2378-7000 | 1596 |
![]() |
บมจ. อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันภัย 0-2638-9000 | 0-2638-9000 | |
![]() |
บมจ. แอกซ่า ประกันภัย จำกัด 0-2679-7600 | 0-2679-7600 | |
![]() |
บมจ. แอล เอ็ม จี ประกันภัย 1790 1790 | 1790 | 1790 |
|
บมจ. ไอโออิ กรุงเทพประกันภัย 1429 | 1429 |
ฉันไม่มีเวลารอเจ้าหน้าที่สำรวจภัย หรือรถฉันกีดขวางการจราจรอย่างมาก ฉันสามารถแยกจากคู่กรณี หรือเคลื่อนย้ายรถออกจากจุดเกิดเหตุได้เลยหรือไม่ ?
บริษัทฯ มีคำแนะนำดังนี้
-
กรณีที่ 1 — เคลื่อนย้ายรถได้ และไม่ต้องรอเจ้าหน้าที่สำรวจภัย ถ้า
- o รถประกัน และรถคู่กรณี มีประกันประเภท 1 ทั้งคู่
- o ลักษณะการเกิดเหตุชัดเจน ทราบฝ่ายถูก/ผิด และฝ่ายผิดยินยอมรับผิด
- o ทั้งสองฝ่ายมีใบยืนยันการเกิดเหตุ (แนบในซองกรมธรรม์) และสามารถกรอกข้อมูลได้ครบถ้วน แล้วทำการแลกเปลี่ยนเอกสารกับคู่กรณี เพื่อนำใบยืนยันการเกิดเหตุที่แลกเปลี่ยนกับคู่กรณีมาติดต่อที่บริษัทประกันภัยของตนเองภายหลัง
หมายเหตุ: ต้องมีครบทุกข้อที่กล่าวมาด้านบน มิใช่แค่ข้อใดข้อหนึ่ง
-
กรณีที่ 2 — เคลื่อนย้ายรถได้ แต่ต้องรอเจ้าหน้าที่สำรวจภัย หาก
- o ลักษณะการเกิดเหตุชัดเจน ทราบฝ่ายถูก/ผิด และฝ่ายผิดยินยอมรับผิด
- o ไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต
-
กรณีที่ 3 — ไม่ควรเคลื่อนย้ายรถ และต้องรอเจ้าหน้าที่สำรวจภัย เมื่อ
- o ลักษณะการเกิดเหตุไม่ชัดเจน และไม่มีฝ่ายใดรับผิด
- o มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
ฉันต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก excess หรือ deductible ในกรณีใดบ้าง ?
มีหลายกรณี ยกตัวอย่างเช่น
- ไม่สามารถแจ้งให้บริษัทฯ ทราบถึงคู่กรณีได้
- ความเสียหายที่เกิดขึ้น ที่ผู้เอาประกันไม่สามารถแจ้ง วัน เวลา และสถานเกิดเหตุ ได้โดยละเอียด
- การใช้รถผิดประเภท เช่น นำรถยนต์ใช้ส่วนบุคคลไปใช้รับจ้าง
- ผู้ขับขี่รถประกันในขณะเกิดเหตุ มิใช่ผู้ขับขี่ที่ระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย (กรณีทำประกันแบบระบุชื่อผู้ขับขี่)
- ความเสียหายที่เกิดขึ้นเฉพาะกับสีเพียงอย่างเดียว ไม่มีรอยบุบ รอยแตก รอยร้าว
- มีระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ เช่น ความรับผิดในส่วนแรก 2,000 บาททุกกรณี
พนักงานสำรวจภัยของบริษัทประกันภัยจะมาถึงที่เกิดเหตุในกี่นาที ?
- โดยส่วนใหญ๋ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะไปถึงที่เกิดเหตุภายใน 30 นาที
- ในพื้นที่ต่างจังหวัดขึ้นอยู่กับระยะทาง และพื้นที่เกิดเหตุ
บริษัทฯ มีอู่ในเครือที่ไหนบ้าง ?
บริษัทฯ มีอู่ในเครือของบริษัทประกันภัย โดยท่านสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเว็บไซด์ของบริษัทประกันภัย แต่หากท่านต้องการจัดซ่อมที่ศูนย์ซ่อมตัวถังและสีของโตโยต้าท่านสามารถ คลิกเพื่อดูอู่ออนไลน์
จำเป็นหรือไม่ที่ต้องใช้อู่ในเครือของบริษัทประกันภัยที่ลูกค้าใช้บริการอยู่
บริษัทขอแนะนำให้ท่านใช้บริการอู่ในเครือของบริษัทประกันภัย เนื่องจากอู่ในเครือมีมาตรฐาน และครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศอยู่แล้วมากกว่า 350 อู่ และยังมีการรับประกันคุณภาพงานซ่อมถึง 6 เดือน และท่านไม่ต้องสำรองจ่ายค่าซ่อมก่อน
อย่างไรก็ตามผู้เอาประกันสามารถเข้าซ่อมรถที่อู่นอกเครือได้ แต่ขอให้ติดต่อกับบริษัทประกันภัยที่ท่านใช้บริการอยู่ ก่อนจัดซ่อมเพื่อสำรวจความเสียหาย และตกลงราคาค่าซ่อม และท่านต้องสำรองค่าซ่อมไปก่อนแล้วยื่นเบิกค่าซ่อมจากบริษัทประกันภัยนั้นๆ เมื่อรถซ่อมเสร็จ
ถ้าลูกค้ามีอู่ประจำแต่ไม่ใช่อู่ในเครือของบริษัทประกันภัย ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง ?
- เตรียมหลักฐาน (ใบขับขี่ผู้ขับขี่ขณะเกิดเหตุ/หน้าตารางกรมธรรม์/สำเนาทะเบียนรถ)
- นำรถยนต์ของท่านเข้ามาตรวจสอบความเสียหาย และประเมินราคาค่าซ่อมที่บริษัทประกันภัยที่ใช้บริการ ก่อนจัดซ่อม
- นำรถเข้าซ่อมและสำรองจ่ายค่าซ่อม
- ยื่นเรื่องเบิกค่าซ่อมจากบริษัทประกันภัยนั้น
รถเกิดอุบัติเหตุ แต่ไม่มีคู่กรณี หรือคู่กรณีหลบหนี ต้องทำอย่างไร ?
- กรณีเสียหายเล็กน้อย ให้นำรถยนต์/กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์/ใบขับขี่ ติดต่อที่อู่ในเครือของบริษัทฯหรือศูนย์ซ่อมตัวถังและสีของโตโยต้าต้าทั่วประเทศ
- กรณีเสียหายค่อนข้างมาก ให้แจ้งบริษัทประกันภัยฯ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สำรวจภัยของบริษัทประกันภัยให้การช่วยเหลือ
หมายเหตุ: ทั้งสองกรณีผู้เอาประกันจะถูกเรียกเก็บค่าความเสียหายส่วนแรก แต่ทั้งนี้หากท่านสามารถจดเลขทะเบียนของคู่กรณีได้ ให้ท่านไปลงบันทึกประจำวัน พร้อมคัดสำเนาในพื้นที่เกิดเหตุ ทั้งนี้หากพิสูจน์ได้ ท่านจะไม่ถูกเรียกเก็บค่าความเสียหายส่วนแรก
คนอื่นๆ ที่ไม่ใช้เจ้าของกรมธรรม์มาทำเคลมแทนได้หรือไม่ ?
สามารถทำได้โดยต้องทำชุดมอบอำนาจ ซึ่งประกอบด้วยหนังสือมอบอำนาจ สำเนาใบขับขี่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนรถ สำเนาหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ (ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องในเอกสารทุกใบ) แล้วให้ผู้รับมอบอำนาจ (พร้อมสำเนาบัตรประชาชนนำรถยนต์ พร้อมหลักฐานชุดมอบอำนาจติดต่อที่บริษัทประกันภัยฯ หรืออู่ในเครือ
ต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการแจ้งเคลม ?
- ใบขับขี่ของผู้ขับขี่ขณะเกิดเหตุ
- หน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์
- สำเนาทะเบียนรถ
กระจกบังลมหน้าแตก ฉันต้องทำอย่างไร ?
- เตรียมหลักฐาน (ใบขับขี่ผู้ขับขี่ขณะเกิดเหตุ/หน้าตารางกรมธรรม์/สำเนาทะเบียนรถ)
- นำรถยนต์เข้าติดต่อเปลี่ยนกระจกได้ที่ศูนย์ซ่อมตัวถังและสีทั่วประเทศ หรือ ร้านกระจกในเครือบริษัทประกันภัยนั้นๆ
ยางรถยนต์เสียหาย เคลมได้หรือไม่ ?
- ยางระเบิด ฉีกขาดเอง ไม่สามารถเคลมได้ เนื่องจากมิได้เกิดจากอุบัติเหตุ กรมธรรม์ไม่คุ้มครอง
-
หากยางเสียหายจากการเกิดอุบัติเหตุ กรมธรรม์ให้ความคุ้มครอง เช่น
- o รถชนแล้วยางแตก
- o ขับรถตกหลุมบนถนน ทำให้ยางฉีกขาด
- o ยางถูกโจรกรรม
เมื่อมีการแก้ไข ตกแต่ง ดัดแปลงรถที่เอาประกันภัย ต้องแจ้งบริษัทประกันภัยหรือไม่ ?
จำเป็นต้องแจ้ง เนื่องจากตัวรถ หรืออุปกรณ์ตกแต่งได้ต่างไปจากเดิม ซึ่งมีผลต่อการพิจารณารับประกันภัย รวมถึงการจ่ายชดเชยค่าสินไหม ลูกค้าอาจต้องเสียค่าเบี้ยส่วนต่างเพิ่ม เพื่อคุ้มครองอุปกรณ์เพิ่มเติมหรือลักษณะการใช้รถที่เปลี่ยนแปลงไป
ถ้าต้องการแก้ไขเนื้อหาในกรมธรรม์ต้องทำอย่างไร ?
โทรศัพท์ติดต่อมายังบริษัทฯ 02-660-5999
การยกเลิกกรมธรรม์ต้องทำอย่างไร และจะได้ค่าเบี้ยประกันคืนหรือไม่ ?
การยกเลิกกรมธรรม์มีสองประเภทคือ
- การบอกยกเลิกโดยผู้เอาประกันภัย กรณีนี้ผู้เอาประกันภัยต้องทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรโดยระบุวันที่จะยกเลิกให้ชัดเจน พร้อมส่งคืนกรมธรรม์ บริษัทฯ จะคืนเบี้ยประกันภัยคืนตามอัตราที่กำหนดไว้ในตารางกรมธรรม์เป็นอัตราร้อยละของเบี้ยประกันเต็มปี
- บริษัทฯ เป็นผู้บอกยกเลิกกรมธรรม์ ด้วยหนังสือบอกยกเลิกให้ผู้เอาประกันภัยทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันโดยส่งไปรษณีย์ลงทะเบียน ในกรณีนี้บริษัทฯ จะคืนเบี้ยประกันแบบเฉลี่ยรายวันตามวันคุ้มครองที่เหลืออยู่